งานวิจัยในชั้นเรียน เรื่อง การแก้ปัญหาการจัดการเรียนการสอนรายวิชาชีววิทยา ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
โรงเรียนปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ

 
 

รูปแบบงานวิจัย 
          เป็นการวิจัยโดยการสังเกต แบบการวิจัยเชิงสังเคราะห์  โดยเป็นการรวบรวมเอาผลการศึกษาที่มีความเกี่ยวข้องในอดีตในเรื่องเดียวกันมารายงานโดยการวิเคราะห์สังเคราะห์ข้อมูล เพื่อใช้เป็นแนวทางในศึกษาและดูประสิทธิภาพและประสิทธิผลต่อไป

 

ที่มาและความสำคัญ
          การจัดการเรียนการสอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในภาคเรียนที่ 2 ของทุกปีการศึกษาจะประสบปัญหาในลักษณะเดียวกันคือ สอนไม่จบเนื้อหา เก็บคะแนนไม่ทัน ก่อนตัดสินผลการเรียนนักเรียนยังต้องนำงานมาส่งครูผู้สอนส่งผลต่อการตัดสินผลการเรียนล่าช้า สาเหตุปัญหามาจากการที่นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในภาคเรียนที่ 2 มีภาระที่ต้องดำเนินการเพิ่ม คือต้องไปสมัครสอบ  ต้องไปสอบ และต้องไปสอบสัมภาษณ์ ทำให้เข้าเรียนในชั้นเรียนไม่ครบชั้น นอกจากนี้ทางโรงเรียนยังมีการจัดกิจกรรมติวเพื่อเตรียมสอบหรือติวเพื่อเตรียมโอเน็ตอีกด้วย ทำให้ระยะเวลาในการสอนในชั้นเรียนลดลง ไม่เป็นไปตามกำหนดการสอน

 

วัตถุประสงค์ของการวิจัย

  1. เพื่อวิเคราะห์รวบรวมปัญหาในการจัดการสอนนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในภาคเรียนที่ 2
  2. เพื่อวิเคราะห์สังเคราะห์แนวทางในการแก้ปัญหาในการจัดการเรียนการสอนนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในภาคเรียนที่ 2

 

ประชากร
      คือนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนปทุมราชวงศา อำเภอปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ

 

กลุ่มตัวอย่าง
        นักเรียนกลุ่ม 2 และ กลุ่ม 3 ที่เรียนรายวิชาชีววิทยา ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนปทุมราชวงศา

 

เครื่องมือ

  1. การสัมภาษณ์
  2. การจัดการเรียนการสอนที่ได้จากการวิเคราะห์สังเคราะห์

 

วิธีการและขั้นตอน

  1. รวบรวมปัญหาจากเพื่อนครูโดยการสัมภาษณ์
  2. วิเคราะห์สังเคราะห์แนวทางในการแก้ปัญหา
  3. จัดการเรียนการสอนตามกระบวนการสอนที่ผ่านการวิเคราะห์และสังเคราะห์

 

ผลที่เกิดขึ้น
         ผลจากการรวบรวมปัญหาจากการสัมภาษณ์เพื่อนครูในกลุ่มสาระที่สอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในภาคเรียนที่ 2 ทั้งที่สอนในภาคเรียนปัจจุบัน และ ที่เคยสอนในภาคเรียนที่ผ่านมา ได้ข้อสรุปปัญหาและสาเหตุของปัญหาดังนี้


ปัญหาที่พบ

                  สาเหตุของปัญหา

1. นักเรียนเข้าเรียนไม่ครบชั้นส่งผลต่อการจัดการเรียนการสอนไม่เป็นไปตามกำหนดการสอน
2. นักเรียนเข้าสอบเก็บคะแนนไม่ครบชั้นส่งผลให้ประมวลผลการเรียนล่าช้า
3. นักเรียนไม่เข้าชั้นเรียนส่งผลให้ทำแบบฝึกหัดส่งไม่ทันเพื่อนส่งล่าช้า ตามงานจากเพื่อนไม่ทัน
4. เมื่อถึงเวลาตัดเกรดประมวลผลการเรียนนักเรียนยังต้องทำงานมาส่งทำให้การประมวลผลการเรียนล่าช้า

1. นักเรียนต้องลาโรงเรียนเพื่อเดินทางไปสมัครสอบ
2. นักเรียนต้องเดินทางไปสอบ
3. นักเรียนต้องเดินทางไปสอบสัมภาษณ์
4. กิจกรรมติวในโรงเรียนเช่นติวเพื่อศึกษาต่อ ติวเพื่อ สอบโอเน็ต
5. วันสำคัญอื่นๆ
6. กิจกรรมภาคเช้าหน้าเสาธงที่กินเวลาสอนในคาบเช้า

          จากข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์ได้นำมาวิเคราะห์กระบวนการสอนโดยการจัดการเรียนการสอนต้องจัดให้ครบ KPA
K (Cognitive domain) ด้านความรู้
P ( Psychomotor domain) ด้านทักษะ
A ( Affective domain) ด้านเจตคติ
โดยครูผู้สอนวิเคราะห์ว่าเนื่องในการสอนนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในภาคเรียนที่ 2 มีเวลาจำกัด การวัดด้าน P และ A จะวัดจากการทำแบบฝึก และการส่งแบบฝึกตามเวลาที่กำหนดให้ครบทุกแบบฝึก ซึ่งการที่นักเรียนจะทำแบบฝึกให้แล้วเสร็จต้องมีความเข้าใจเนื้อหาก่อน ซึ่งต้องใช้เวลาในการสะสมความรู้

         ครูผู้สอนจึงเลือกแนวทางในการแก้ปัญหาเพื่อกระชับเวลาในการเรียนการสอนตรงจุดนี้ให้ลดลง โดยแยกการวัด K ออกจาก PและA โดยออกแบบการแก้ปัญหาดังนี้ครูผู้สอนจะสอนส่วนของเนื้อหาหรือ K ให้จบ แล้วสอบวัดความรู้ผู้เรียนก่อนจากนั้นค่อยให้นักเรียนทำแบบฝึกหัดส่ง เพื่อใช้ข้อได้เปรียบจากการที่นักเรียนความเข้าใจในเนื้อหาก่อนที่จะทำแบบฝึก และการทำแบบฝึกจะส่งเสริมให้นักเรียนได้คิดวิเคราะห์ 

          โดยได้ออกแบบไว้ 2 ระดับ คือ กระชับระยะเวลาระดับ 1 และระดับ 2
ระดับ 1  ใช้เมื่อมีเวลาเหลือปานกลาง  ระดับ 2 ใช้เมื่อมีเวลาเหลือจำกัดมาก การออกแบบการสอนระดับ 1 คือ สอนเนื้อหาให้จบบท ก่อน แล้วสอบวัดผลสัมฤทธิ์ แล้วค่อยทำแบบฝึก การสอนระดับ 2 คือ สอนเนื้อหาให้จบทุกบท แล้วสอบวัดผลสัมฤทธิ์ แล้วค่อยทำแบบฝึก
โดยในภาคเรียนนี้ครูผู้สอนได้เลือกใช้การสอนในระดับ 2 เนื่องจากระยะเวลาในการสอนเหลือน้อย

 

ผลที่เกิดขึ้น
          จากการจัดการเรียนการสอนโดยใช้การสอนในระดับ 2 คือ สอนเนื้อหาให้จบทุกบท แล้วสอบวัดผลสัมฤทธิ์ แล้วค่อยทำแบบฝึก ครูผู้สอนเก็บข้อมูลผลการศึกษาโดยสอบถามเพื่อนครูที่สอนในรายวิชาเดียวกัน พบว่าการสอนในรูปแบบที่ใช้ ทำให้สอนได้เร็วขึ้นกว่าการสอนปกติซึ่งให้เรียนและทำแบบฝึก และกิจกรรมไปด้วย
และพบว่าครูผู้สอนสามารถสอนจนจบบทเรียน และเก็บคะแนนนักเรียนได้ทันเวลาก่อนสอบปลายภาค

 

สรุปผลการศึกษา
         จากการสอบถามเพื่อนครูที่สอนในรายวิชาเดียวกัน และ ผลที่เกิดขึ้นเมื่อจะสอบปลายภาคและตัดสินผลการเรียน พบว่าการสอนในรูปแบบที่ได้จากการวิเคราะห์และสังเคราะห์ขึ้นทำให้สอนเนื้อหาได้เร็วขึ้น และสามารถเก็บคะแนนนักเรียนได้ทันตามเวลาที่กำหนด

 

ข้อเสนอแนะ

  1. การศึกษาในครั้งนี้เป็นเพียงแนวทางเพื่อให้เกิดการศึกษาในระดับลึกเพื่อทดสอบประสิทธิภาพประสิทธิผลต่อไป
  2. ในขั้นของการสอนเนื้อหาสามารถวางรูปแบบได้แตกต่างกันหลายระดับเช่น สอนแบบบรรยาย , สอนโดยใช้สื่อการสอน อื่นๆเข้ามาช่วยซึ่งจะทำให้ความเร็วในการสอนเพิ่มขึ้นแตกต่างกัน
  3. การสอนให้ความรู้ที่รวดเร็วครูผู้สอนต้องมีความเชี่ยวชาญในเนื้อหา

สิ่งดีๆเกิดขึ้นได้เนื่องจากมีผู้สนับสนุน
ลิงก์ผู้สนับสนุน


ครูนันทนา สำเภา ผู้วิจัย
 
 
   
 
 

 


กลับหน้าหลัก

 

จัดทำโดย

ครูนันทนา สำเภา โรงเรียนปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ